แผนการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการสอน ภาษาไทย ป.6 ผลิตโดย สพฐ. (แผนกลาง)


แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการสอน ภาษาไทย ป.6  ผลิตโดย สพฐ.  (แผนกลาง)
มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
ท 1.1
ท 2.1
ท 3.1
ท 4.1
ท 5.1

ภาษาไทย ป.6 (หน่วยที่ 6) กทลีตานี   ดาวน์โหลด
การอ่านออกเสียงคำศัพท์และเนื้อเรื่องเรื่องกทลีตานี การอ่านสรุปใจความสำคัญ การอ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำมุ่งให้ผู้อ่านปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและอธิบาย การนำความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมเพื่อนำไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ การเขียนนิทานเป็นการเขียนเรื่องตามจินตนาการโดยใช้ประสบการณ์เดิม ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ถ่ายทอดเรื่องราวด้วยสำนวนภาษาที่สนุกสนานน่าสนใจ การพูดรณรงค์เป็นการพูดให้ผู้อื่นเชื่อถือและคล้อยตามผู้พูดอย่างมีเหตุผล โดยผู้พูดต้องเตรียมตัวในการพูดด้วยสำนวนภาษาที่เหมาะสม บุคลิกภาพที่ดีและมีการแสดงความจริงใจต่อผู้ฟัง
คำนามเป็นคำชนิดหนึ่งที่ใช้เรียกคน พืช สัตว์ สิ่งของและสถานที่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งประธานและกรรมในประโยคและใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน คำสรรพนามเป็นคำที่ใช้แทนคำนาม และคำสรรพนามเป็นคำที่ต้องการใช้ในการสนทนาในชีวิตประจำวัน จึงต้องเลือกใช้กับบุคคลต่างๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม คำกริยาเป็นคำที่แสดงอาการหรือสภาพ หรือการกระทำของประธานในประโยคซึ่งเป็นคำนาม หรือคำสรรพนาม ประโยคทุกประโยคต้องมีกริยา   วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย

ภาษาไทย ป.6 (หน่วยที่ 5) นิทานทองอิน    ดาวน์โหลด
การอ่านเรื่อง เพื่อสรุปใจความสำคัญ อ่านออกเสียง คำศัพท์และเนื้อเรื่อง เขียนแผนภาพโครงเรื่อง และอธิบายการนำความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมเพื่อนำไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้การอ่านข่าวทำให้รู้ทันเหตุการณ์ของสังคม และโลกข่าวที่ดีจะต้องจริงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่บิดเบือนจากความจริง
การเขียนเรื่องตามจินตนาการ เป็นการเขียนที่แสดงจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนประโยคสามัญเป็นประโยคที่กล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว และสิ่งนั้นแสดงกริยาอาการหรืออยู่ในสภาพเพียงอย่างเดียว
โครงงานคืองานวิจัยเล็กๆ สำหรับนักเรียนเป็นการแก้ปัญหา หรือข้อสงสัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด จะเรียกว่าโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆ
นิทานพื้นบ้านเป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา แสดงถึงภูมิปัญญาทางภาษาและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สอดแทรกข้อคิดให้ผู้ฟังนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ภาษาไทย ป.6 (หน่วยที่ 4) อ่านป้ายได้สาระ    ดาวน์โหลด
การอ่านออกเสียงคำศัพท์ และเนื้อเรื่องวรรณกรรมเรื่องอ่านป้ายได้สาระ การอ่านสรุปใจความสำคัญ การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง และอธิบายการนำความรู้ และข้อคิดจากวรรณกรรมเพื่อนำไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ การโต้วาทีเป็นการพูดโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อถือและคล้อยตาม โดยการนำเอาเหตุผลมาหักล้างกันจนได้แนวทางเลือกที่ดีที่สุด การมีมารยาทในการฟัง การดู การพูด จะทำให้รับสารและส่งสารได้เหมาะสมกับกาลเทศะเป็นที่ชื่นชมของผู้พบเห็น วลีคือการนำคำมาเรียงกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป แต่ยังมีความหมายไม่ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างประโยค ประโยคคือกลุ่มคำที่เรียงต่อกันแล้วได้ใจความสมบูรณ์ว่า ใคร ทำอะไร คิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร หรือมีสภาพอย่างไร บทร้อยกรอง คือถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบถูกต้องตามข้อกำหนดฉันทลักษณ์มีความงดงามทางด้านการใช้ภาษาและมีคุณค่า สุนทรภู่ ครูกลอนของไทยผู้สร้างสรรค์วรรณคดีอันล้ำค่าไว้เป็นมรดกตกทอดสืบต่อไป

ภาษาไทย ป.6 (หน่วยที่ 3) ควายข้าวและชาวนา    ดาวน์โหลด
การอ่านวรรณกรรม เพื่อสรุปใจความสำคัญ อ่านออกเสียงคำศัพท์และเนื้อเรื่องได้ถูกต้อง ชัดเจน ถูกวรรคตอน และเขียนแผนภาพโครงเรื่อง อธิบายการนำความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมเพื่อนำไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตมาเขียนเรียงความโดยมีรูปแบบเฉพาะคือมีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป เป็นการเขียนเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ไปยังผู้อ่าน อธิบายลักษณะของสำนวนสุภาษิต และการคัดลายมือได้ถูกต้องและสวยงาม การพูดโน้มน้าวเป็นการพูดให้ผู้อื่นเชื่อถือและคล้อยตามผู้พูดอย่างมีเหตุผล โดยผู้พูดต้องเตรียมตัวในการพูดด้วยสำนวนภาษาที่เหมาะสม บุคลิกภาพที่ดี และมีการแสดงความจริงใจต่อผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังปฏิบัติตนในสิ่งที่ผู้พูดต้องการ และท่องจำบทอาขยานให้ถูกฉันทลักษณ์ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและเห็นคุณค่า และสามารถนำแนวคิดไปใช้ในชีวิตจริงให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้

ภาษาไทย ป.6 (หน่วยที่ 2) จากผาแต้มสู่อียิปต์   ดาวน์โหลด
การอ่านอ่านออกเสียงวรรณกรรมเรื่องจากผาแต้มสู่อียิปต์ การอ่านสรุปใจความสำคัญ การอ่านคำศัพท์ การอ่านวัน เดือน ปี แบบไทยจะต้องเข้าใจความหมายของการใช้ตัวเลขแทนวัน เดือน และชื่อปีนักษัตรจึงจะเข้าใจความหมาย และสื่อสารได้ตรงกัน การมีมารยาทในการอ่าน เป็นการแสดงถึงอุปนิสัยที่ดีและน่าชื่นชม การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและอธิบายการนำความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมเพื่อนำไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ การนำความรู้และประสบการณ์มาถ่ายทอดสู่ผู้ฟังด้วยการพูดเล่าเรื่อง เป็นการให้ความรู้หรือผ่อนคลายอารมณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความเพลิดเพลิน พยางค์คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ ส่วนวลีคือการนำคำมาเรียงกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มีความหมายแต่ยังไม่สมบูรณ์อย่างประโยค บทความ คืองานเขียนที่มุ่งเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และความรู้ของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงจากแหล่งต่าง ๆ ประเทศไทยมีภาษาถิ่นที่พูดสื่อสารกันภายในท้องถิ่น ต่างกันไปแต่ละภาคเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกัน

ภาษาไทย ป.6 (หน่วยที่ 1) ชมรมคนรักวรรณคดี    ดาวน์โหลด
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง รู้ความหมายของคำนำความรู้ และความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตรู้ความหมายในการอ่านวัน เดือน ปี แบบไทยเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนสื่อสารเขียนจดหมายส่วนตัว เขียนแผนภาพโครงเรื่อง และแผนภาพความคิดโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจนและเหมาะสม พูดเล่าเรื่องเป็นการนำความรู้ และประสบการณ์มาถ่ายทอดสู่ผู้ฟัง สามารถสื่อสารภาษาถิ่นแต่ละภาคได้ มีมารยาทในการอ่านและการเขียน

ภาษาไทย ป.6 โครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ป.6   ดาวน์โหลด
ภาษาไทย ป.6 โครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ป.6
ผลิตโดย สพฐ.
มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
ท 1.1
ท 2.1
ท 3.1
ท 4.1
ท 5.1

About admin

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.